วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดบทที่4

1.ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณืที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ3ชนิดแล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1.การบันทึกและการจัดเก็บข้อมูล
-เทปแม่เหล็ก
-จานแม่เหล็ก
-บัตรATM
2.การแสดงผล
-เครื่องพิมพ์
-จอภาพ
-พลอตเตอร์
3. การประมวลผล
-ฮาร์ดแวร์
-ซอฟต์แวร์
-ซีพียู
4. การสื่อสารและเครือข่าย
-โทรทัศน์
-วิทยุกระจายเสียง
-อินเทอร์เน็ต


2.ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องว่างมาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความสัมพันธ์กัน
...2...ซอฟแวร์ประยุกต์
...3...Information Technology
...1...คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลข้อมูล
...4...เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย
...5...ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

1.ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
2.e-Revenue
3.เทคโนโลยีต่างๆที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำและความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วนได้แก่ Sender Medium และ Decoder
5.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 3 รู้สารสนเทศ

1.ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สาสนเทศ
   .ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมินและใช้งานสารสนเทศ
2.จากกระบวนการรู้สารสนเทศทั้ง5ประการประการไหนสำคัญที่สุด
   .ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
   .ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกมส์
4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
   .สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
5.ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
   .5-4-1-2-3

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม

1.ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการต่างๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ3 ราการ
1.1
สาขาการศึกษา - http://www.siit.tu.ac.th/thai/thai.htmlสถาบันการศึกษานานาชาติ ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- http://www.onec.go.th
เว็บไซต์ศูนย์รวมของข่าวสาร ความรู้ด้านการศึกษา นำเสนอข้อมูลทั้งในรูปแบบของตัวอักษร
- http://www.ceted.org/cet_media
ให้บริการสำเนาสื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์และวิทยุ ที่ศูนย์ฯผลิต เป็นวีดิทัศน์ วีซีดี
1.2
วิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน - http://www.bartercard.co.th
- http://www.ustbc.org
- http://www.worldtradeaa.com
1.3
วิชาชีพสื่อมวลชน - http://www.ndwc.or.th/
- http://www.marketinstantly.com
- http://www.thaisnews.com
1.4
วิชาชีพทางอุตสาหกรรม บริษัท เฟสโต้ จำกัด - http://www.festo.comผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ลมที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
- http://www.philipmorrisinternationa
- http://www.marubeni.com

1.5
วิชาชีพทางการแพทย์ -www.innoplast.net
-www.jico.co.th
- http://www.cppluspack.com
1.6
วิชาชีพทหารตำรวจ www.thaithesims3.com
www.dmc.tv
www.gun.in.th

1.7
วิชาชีพวิศวกรรม www.iet.rmuti.ac.th/ie/html/abouIE_c.htm
www.coe.or.th
www.civilclub.net
1.8
วิชาชีด้านเกษตรกรรม www.agkmstou.com
www.thaikasetsart.com
www.thaikasetsart.com
1.9
เกี่ยวกับคนพิการ www.tddf.or.th
www.tddf.or.th
www.braille-cet.in.th
2.
มหาลัยวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้ท่าน มีอะไรบ้างบอกมา 3 อย่าง
-
คอมพิวเตอร์
-
จอโปรเจคเตอร์
-
ทีวี
3.
จากข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าเราจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไร
-
ใช้ในการสืบค้นหาข้อมูลและหางานเกี่ยวกับการเรียนและใช้เป็นการเป็นการดูและเป็นสื่อในการเรียนและหาความรู้

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ

1.ข้อมูลหมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังจะเห็นจากกระบวนการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลายพรรคการเมืองมีการใช้เทคโนโลยีรวบรวมข้อมูล หาวิธีการที่จะให้ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว และมื่อสถานการณ์บางอย่างเกิดผันแปรขึ้น การเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงที
2.
ข้อมูลปฐมภูมิคือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรงเป็นสารสนเทศทางวิชาการ
ยกตัวอย่างประกอบ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย สิทธิบัตร
3.
ข้อมูลทุติยภูมิคือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทสปฐมภูมิ
ยกตัวอย่างประกอบ เช่น สื่ออ้างอิงประเภทต่างๆ สารนุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่างๆ
4.
สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่ได้มีการจัดการทางความคิด คำนวณ ประมวลผล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ทันต่อการใช้ังานและทันเวลา
5.
จงอธิบายประเภทสารสนเทศ
จำแนกออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.
ตามแหล่งสารสนเทศ
2.
ตามสื่ออที่จัดเก็บและบันทึก
6.
ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป้นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ สื่ออิเล็กทรอนกส์
7.
ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น ข่าวสารหรือสารสนเทศ
8.
ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น ข้อมูล
9.
ผลของการลงททะเบียนเป็น สารสนเทศ
10.
กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาการจัดการสารสนเทศเทคโนโลยียุคใหม่ในชีวิตประจำวันsectionวันอังคารเป็น ข้อมูล

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความแตกต่างระหว่างการเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย

ความแตกต่าง ระหว่าง โรงเรียน กับ มหาวิทยาลัยคือ
โรงเรียนจะเรียนแบบท่องจำ ทำตามองค์ความรู้ ที่มีผู้หวังดีกำหนดให้มาเพื่อให้สอบผ่าน
มหาวิทยาลัยจะเรียนแบบตั้งคำถาม แสวงหาคำตอบที่หลากหลาย ผลิตวิชาการที่
ไม่ใช่คำตอบสำเร็จรูป  มีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ตอบคำถามใหม่ ๆอยู่ตลอดเวลา มีกิจกรรมวิพากษ์ วิจารณ์องค์ความรู้ เปิดเผย ถอดระหัสองค์ความรู้  และวิธีสอน ก็คือ ใช้ไดอะแลคติค ให้ผู้เรียนค้นคว้าสร้างองค์ความรู้ด้วยความเป็นตัวของตัวเอง ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ พลิกแพลงองค์ความรู้ได้

ดังนั้นสาระของมหาวิทยาลัยจึงไม่ใช่แค่ชื่อ แต่เป็นพฤติกรรมจริง ๆ

สรุปความหมายของการรู้สารสนเทศและกระบวนการรู้สารสนเทศ

การรู้สารสนเทศ(Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ
ความสำคัญ
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ

2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น

3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น

4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ
องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
การรู้สารสนเทศเป็นทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะ และกระบวนการอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนา การเรียนรู้ทุกรูปแบบ สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American Library Association. 2005 : Online) ได้กำหนดองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 4 ประการ คือ

1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องกำหนดเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า กำหนดความต้องการสารสนเทศ ระบุชนิดและรูปแบบที่หลากหลายของแหล่งสารสนเทศที่จะศึกษา เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ บุคคล สถานที่ อินเทอร์เนต เป้นต้น รวมทั้งตระหนักถึงค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่ได้รับ และทราบขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น

2. การเข้าถึงสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม กำหนดกลยุทธ์การค้นคืนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถค้นคืนสารสนเทศออนไลน์หรือสารสนเทศจากบุคคลโดยใช้วิธีการที่หลากหลายสามารถปรับกลยุทธ์การค้นคืนที่เหมาะสมตามความจำเป็น รวมถึงการตัดตอน บันทึก และการจัดการสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ

3. การประเมินสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถสรุปแนวคิดสำคัญจากสารสนเทศที่รวบรวม โดยใช้เกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความทันสมัย สามารถสังเคราะห์แนวคิดหลักเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเพื่อพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่เพิ่มขึ้น อะไรคือสิ่งที่ขัดแย้งกัน และอะไรคือสิ่งที่คล้อยตามกัน

4. ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถใช้สารสนเทศใหม่ผนวกกับสารสนเทศที่มีอยู่ในการวางแผนและสร้างผลงาน หรือการกระทำตามหัวข้อที่กำหนดทบทวนกระบวนการ พัฒนาการผลิตผลงานของตนเอง และสามารถสื่อสารหรือเผยแพร่ผลงานของตนเองต่อบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากความสามารถดังกล่าวแล้ว ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีก ได้แก่
1. การรู้ห้องสมุด (Library literacy)
ผู้เรียนต้องรู้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จักอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆด้วย
2. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)
ผู้เรียนต้องรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ การเชื่อมประสาน และการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์เอกสาร การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรู้ที่ตั้งของแหล่งสารสนเทศ
3. การรู้เครือข่าย (Network Literacy)
ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ
4. การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy)
ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งทีเห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์บุหรี่ และ มีเครื่องหมายกากบาททาบอยู่ด้านบนหมายถึง ห้ามสูบบุหรี่ สัญลักษณ์ผู้หญิงอยู่หน้าห้องน้ำ หมายถึง ห้องน้ำสำหรับสตรี เป็นต้น
5. การรู้สื่อ (Media Literacy)
ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ และ สามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร
6. การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy)
ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจิทัลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมาใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไชต์ เป็นต้น
7. การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy)
ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การค้นสารสนเทศจาก
อินเตอร์เนต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากล และสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ
8. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญมีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา
9. การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic) การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป็นต้องอ้างอิงเจ้าของผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปพรรคการเมือง

1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ  ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด 61 คน ได้แก่

          1.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
          2.ยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
          3.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
          4.เสนาะ เทียนทอง
          5.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
          6.มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
          7.ปลอดประสพ สุรัสวดี
          8.จตุพร พรหมพันธุ์
          9.ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
          10.สุชาติ ธาดาธำรงเวช
          11.พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก
          12.จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
          13.บัณฑูร สุภัควณิช
          14.พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย
          15.สันติ พร้อมพัฒน์
          16.พล.ต.อ.วิรุฬ พื้นแสน
          17.พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
          18.วิรุฬ  เตชะไพบูลย์
          19.เหวง โตจิราการ
          20.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
          21.นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
          22.วัฒนา เมืองสุข
          23. พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา
          24.นิติภูมิ นวรัตน์
          25.นางสาวภูวนิดา คุนผลิน
          26.สุนัย จุลพงศธร
          27.นางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง
          28.คณวัฒน์ วศินสังวร
          29.อัสนี เชิดชัย
          30.นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร
          31.พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย
          32.วิรัช รัตนเศรษฐ 
          33.พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
          34.นภินทร ศรีสรรพางค์
          35.ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
          36.นางวราภรณ์ ตั้งภาภรณ์
          37.นางสาวสุนทรี ชัยวิรัตนะ
          38.นางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร
          39.สมพล เกยุราพันธุ์
          40.นพงศกร อรรณนพพร
          41.นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
          42.นางสาวขัตติยา สวัสดิผล
          43.ธนเทพ ทิมสุวรรณ
          44.นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์
          45.เกียรติชัย ติรณศักดิ์กุล
          46.วิภูแถลง พัฒนภูมิไท
          47.นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ
          48.พายัพ ปั้นเกตุ
          49.นางรังสิมา เจริญศิริ
          50.รองศาสตราจารย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์
          51.กานต์ กัลป์ตินันท์
          52.ธนิก มาสีพิทักษ์
          53.พิชิต ชื่นบาน
          54.ก่อแก้ว พิกุลทอง
          55.นิยม วรปัญญา
          56.นางสาวจารุพรรณ กุลดิลก
          57.อรรถกร ศิริลัทธยากร
          58.เวียง วรเชษฐ์
          59.อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
          60.วิเชียร ขาวขำ
          61.ประวัฒน์ อุตโมท

  พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 44 คน ได้แก่

          1.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
          2.ชวน หลีกภัย
          3.บัญญัติ บรรทัดฐาน
          4.เทอดพงษ์ ไชยนันทน์
          5.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
          6.กรณ์ จาติกวนิช
          7. คุณหญิงกัลยา โสภณพาณิช
          8.อภิรักษ์ โกษะโยธิน
          9.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
          10.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์
          11.นายไพฑูรย์ แก้วทอง
          12.นายอิสสระ สมชัย
          13.นายเจริญ คันธวงศ์
          14.นายอลงกรณ์ พลบุตร
          15.นายอาคม เอ่งฉ้วน
          16.นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
          17.สุทัศน์ เงินหมื่น
          18.องอาจ คล้ามไพบูลย์
          19.พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
          20.วิฑูรย์ นามบุตร
          21.ถวิล ไพรสณฑ์
          22. นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
          23.พ.อ.วินัย สมพงษ์
          24.สุวโรช พะลัง (เสียชีวิต)
          25.ดร.ผุสดี ตามไท
          26.ปัญญวัฒน์ บุญมี
          27.สามารถ ราชพลสิทธิ์
          28.นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์
          29.ภุชงค์ รุ่งโรจน์
          30.นิพนธ์ บุญญามณี
          31.นางอานิก อัมระนันทน์
          32.โกวิทย์ ธารณา
          33.อัศวิน วิภูศิริ
          34.ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
          35.เกียรติ สิทธิอมร
          36. บุญยอด สุขถิ่นไทย
          37.กนก วงษ์ตระหง่าน
          38.พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี
          39.สุกิจ ก้องธรนินทร์
          40.ประกอบ จิรกิติ
          41.พีรยศ ราฮิมมูลา
          42.กษิต ภิรมย์
          43.วีระชัย วีระเมธีกุล
          44. นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
          45.วัชระ เพชรทอง

        หมายเหตุเนื่องจากนายสุวโรช พะลัง ผู้สมัคร ส.ส.ลำดับที่ 24 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน จึงเลื่อนลำดับที่ 45 ขึ้นมาแทน

พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 5 คน ได้แก่

          1.ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
          2.ชัย ชิดชอบ
          3.เรืองศักดิ์ งามสมภาค
          4.นางนาที รัชกิจประการ
          5.ศุภชัย ใจสมุทร

พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

          1.ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
          2.นายชัยวัฒน์ ไกฤกษ์
          3.โปรดปราน โต๊ะราหนี
          4.พงษ์ศักดิ์ เรือนเงิน

พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

          1.ชุมพล ศิลปอาชา
          2.พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
          3.นิติวัฒน์ จันทร์สว่าง
          4.ยุทธพล อังกินันทน์

พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

          1.ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์
          2.ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

          1.พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

พรรคพลังชล ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

          1.นายสันตศักย์  จรูญงามพิเชษฐ์ 

 พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

          1.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

 พรรคมหาชน ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

          1.นายอภิรัต ศิรินาวิน

พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

          1.นางพัชรินทร์ มั่นปาน