วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดบทที่8การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

1''.นาย Aทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้โดยทำการระบุ lP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัยนายBที่เป็นเพื่อนสนิทของนายAได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื้อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้ส่งต่อให้เพื่อนๆที่รู้จักได้ทดลอง'' การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

ตอบ ผิดจริยธรรมเพราะสร้างโปรแกรมขึ้นมาแล้วใช้แกล้งคนอื่นโดยไม่เกิดประโยชน์มีแต่ความเสียหายก่อกวนระบบ


2. ''นาย J ได้สร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราต่างๆอีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุก ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆเด็กชายK เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J '' การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรืผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

ตอบ ไม่ผิดเพราะนาย J สร้างขึ้นเพื่อความสนุกและต้องการให้คนอื่นได้รู้จึงไม่ผิดกฎหมายและจริยธรรม

แบบฝึกหัดบทที่7ความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.หน้าที่ของไฟร์วอลล์คือ มีไว้เพื่อป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของตนจากอันตรายที่มาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายนอก เช่น ผู้บุกรุก หรือ Hacker Firewall จะอนุญาตให้เฉพาะข้อมูลที่มีคุณลักษณะตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ผ่านเข้าออกระบบเครือข่ายภายในเท่านั้น อย่างไรก็ดี Firewall นั้นไม่สามารถป้องกันอันตรายที่มาจากอินเทอร์เน็ตได้ทุกรูปแบบ ไวรัสก็เป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถรับรองได้ว่าความปลอดภัยหรือความลับของข้อมูลจะมีอยู่ร้อยเปอร์เซนต์ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ Firewall แล้วก็ตาม เครื่องบริการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มีหลายที่หลายด้าน เช่น กรองแพ็กเกจ เฝ้าตรวจ ตรวจสอบการใช้ bandwidth หรือเก็บข้อมูลที่ local host ใช้งานบ่อย ไว้ให้ local host อื่น ๆ เรียกใช้ด้วยความเร็ว ซึ่งหลักการของ firewall

จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ worm,virus computer,spy ware,adare มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
worm
เวิร์มเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับโปรแกรมไวรัส แต่แพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครื่องอื่น ๆ ที่ต่ออยู่บนเครือข่ายด้วยกัน ลักษณะการแพร่กระจายคล้ายตัวหนอนที่เจาะไชไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ แพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอกตัวเองออกเป็นหลาย ๆ โปรแกรม และส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป
เมื่อมีผู้ส่งอีเมล์และแนบโปรแกรมติดมาด้วย ในส่วนของ Attach file ผู้ใช้สามารถคลิกดูได้ทันที การคลิกเท่ากับเป็นการเรียกโปรแกรมที่ส่งมาให้ทำงาน ถ้าสิ่งที่คลิกเป็นเวิร์ม เวิร์มก็จะแอกตีฟ และเริ่มทำงานทันที โดยจะคัดลอกตัวเองและส่งจดหมายเป็นอีเมล์ไปให้ผู้อื่นอีก
ลักษณะของเวิร์มจึงไม่ใช่โปรแกรมที่เขียนเป็น .exe อย่างเดียว เพราะถ้า .exe อย่างเดียว ผู้ใช้จะเฉลียวใจ และเนื่องจากในโปรแกรมประยุกต์ของไมโครซอฟต์เกือบทุกโปรแกรมสามารถเขียนเป็นสคริปต์ไฟล์ หรือเป็นแมโครโฟล์ เพื่อให้รันสคริปต์หรือแมโครไฟล์ได้ เช่นในเวิร์ดก็จะมีการเขียนแมคโคร ในเอ็กซ์เซลก็เขียนได้เช่นกัน แต่สำหรับเวิร์ม ILOVE YOU เขียนขึ้นเป็นไฟล์ .vbs หรือวีบีสคริปต์ไฟล์ วีบีสคริปต์นี้สามารถรันได้ทันทีเหมือน .exe ไฟล์
บนแพลตฟอร์มของวินโดว์จึงมีโอกาสที่จะเรียกไฟล์ขึ้นมารันได้หลายวิธี ข้อมูลที่ส่งมาถ้ามีแมคโครติดอยู่ ก็สามารถมีเวิร์มติดมาได้
เวิร์ม ILOVE YOUมีลักษณะพิเศษที่สร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้ทั่วโลกมาก เพราะผู้เขียนเวิร์มนี้ตั้งใจที่จะให้แพร่หลายและทำลายไฟล์ โดยโปรแกรมจะตรวจสอบดูว่าในระบบมีสคริปต์ไฟล์อื่น ๆ อยู่อีกหรือไม่ ถ้ามีจะคัดลอกเวิร์มเข้าไปแทน เพื่อว่าต่อไปถ้ามารันสคริปต์ตัวนั้น เวิร์มก็จะกระจายได้อีก นอกจากนี้ยังดูว่ามีไฟล์ประเภทรูปภาพ
ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง
มี 5 ประเภท ได้แก่
1 บูตไวรัส
2 ไฟล์ไวรัส
3 มาโครไวรัส
4 โทรจัน
5 หนอน

บูตไวรัส
บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น


ไฟล์ไวรัส
ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น


มาโครไวรัส
มาโครไวรัส (macro virus) คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น


หนอน
หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้น

แบบฝึกหัดบทที่6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

1การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นความหมายของข้อใด
ก.เทคโนโลยีสารสนเทศ
2เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม
ข.ระบบการเรียนการสอนทางไกล
3การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม(ATM)เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด
ค.เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
4ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ง.ถูกทุกข้อ
5เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด
ก.การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
6เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
ง.ถูกทุกข้อ
7ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ง.เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
8ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ
ง.โทรทัศน์ วิทยุ
9ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ค.ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
10ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน
ง.ถูกทุกข้อ

สาระสำคัญ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามากับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่มโยงกันทุกมุมโลก
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางกลายเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือยุคข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติ
ผลกระทบทางบวก
1เพิ่มความสะดวกสะบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิตชีวิตในสังคมได้ได้รับความสะดวกสบาย
2เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น
3มีระบบผู้เชี่ยวชาญ
4เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ
5พัฒนาด้านการศึกษา
ผลกระทบทางลบ
1ก่อให้เกิดความเครียดในสังคม
2ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก
3ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน
ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยี
1มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
2มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีระบบซึ่งกันและกัน
3มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
1ใช้แนวสร้างจริยธรรม
2สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
3ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
4การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน
5ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
6ใช้แนวทางการบังคับด้วยกฎหมาย

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดบทที่5 การจัดการสารสนเทศ

1.จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
-การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การทำกิจกรรมหลักต่างๆ ในการจัดหาการจัดโครงสร้าง(Organization)การควบคุม ผลิต การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การทุกประเภทอย่างมีประสิทธิผล

2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
-การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบบุคคลคือบุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้านเพื่อการใช้ชีวิตอย่างราบรื่น มีความก้าวหน้าและมีความสุข เช่น ต้องการสารสนเทศเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ
การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์กรคือ ความสำคัญด้านการบริหารจัดการในยุคโลกาภิวัฒน์เป็นการบริหารภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันทางธุรกิจสูง ผู้บริหารต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อวิเคราะห์ปัญหาต่างๆของคู่แข่ง

3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแย่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
-พัฒนาการสารสนเทศแบ่งออกเป็น2ยุค ได้แก่ การจัดการสรสนเทศด้วยระบบมือ การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
-หนังสือพิมพ์ คอมพิวเตอร์ หนังสือนิตยสาร

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

Antivirus ที่ใช้กับ USB Disk

USB Disk Security V5.1.0.15
โปรแกรมแอนตึ้ไวรัสสำหรับ USBโปรแกรม แอนตึ้ไวรัสสำหรับ Flash disk Flash memory card Iipodเป็นโปรแกรมแอนตึ้ไวรัสที่เล็กและเร็วที่สุดในโลกและสามารถป้องกัน ไวรัสได้100% โดยไม่ต้องอัพเดท Signature หรือต่ออินเตอร์เนทใช้งานง่ายและลองรับทุก OS

ประเภทของไวรัสและการทำลาย

ไวรัสคอมพิวเตอร์ในโลกนี้มีนับล้านๆ ตัวแต่คุณรู้ใหมครับว่าดดยพื้นฐานของมันแล้วมาจากแหล ่งกำเหนิดที่เหมือนๆ กันซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ออกมา ได้ดังนี้


1.บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัส
ที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน
ขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียก
ระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน

การทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียนระบบปฏิบัติการ จากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยค วามจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรม มา ก่อนที่จะไปเรียนให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่ง
ที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ใน
โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไ ปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำ งานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้วหลังจากนี้หากมีการ เรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป

นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหา โปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่อไป

3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียนขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุดโดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำ อธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะจุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโป รแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและ สร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบต์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมม้าโทรจันได้

4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses) เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจัดโดยโปรแกรมตรว จหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

5. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อกา รตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้นถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิมทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

6. Macro viruses จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสารติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้น เรียกใช้ตายใจ

Progrom Antivirus

Kaspersky Anti-Virus
ซึ่งตอนนี้ได้อัพเดทเวอร์ชันล่าสุด Kaspersky Anti-Virus 2012 เวอร์ชันนี้ได้พัฒนาให้รองรับระบบปฎิบัติการ Windows 7 ตัวโปรแกรมได้รับการโหวตจากผู้ใช้งานทั้งหมดทั่วโลกครับ ใช้งานง่ายและมีคนไว้วางใจมากที่สุด โปรแกรมสามารถสแกนหา viruses, Trojans, worms, spyware, adware และสามารถสแกนอีเมล์ สแกนข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตแบบ Real Time และอัพเดทได้เองอัตโนมัติ

ESET NOD32 Antivirus 4 - Antivirus, Antispyware
ด้วยความสามารถของ NOD32 สำหรับ Windows ที่จะปกป้องคุ้มครองคอมพิวเตอร์ที่บ้านของคุณ , คุณจะไม่ต้องกังวลกับไวรัสที่น่ารำคาญอย่าง Netsky , Mydoom และ Lovebug อีกต่อไป NOD32 จะปกป้องคุณ
NOD32 ใช้งานได้ง่ายและให้ความปลอดภัยระดับองค์กรที่บ้านของท่าน หลังจากที่ติดตั้งเสร็จสิ้น AMON ผู้ดูแลตรวจสอบระบบตลอดเวลา จะทำงานอยู่ด้านหลัง ช่วยให้คอมพิวเตอร์ของคุณปลอดภัย IMON ผู้ดูและตรวจสอบอีเมล์ จะสแกนทุกๆเมล์ที่คุณรับ และตรวจหาไวรัสและทำการกำจัดก่อนที่ไวรัสจะมีโอกาสเข้ามาและทำร้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และเมื่อมีการอัปเดทใหม่ๆเข้ามา , NOD32 จะทำการอัปเดทโดยอัตโนมัติ ให้คุณมั่นใจว่าคุณจะมีฐานข้อมูลไวรัสล่าสุด
NOD32 สำหรับ Windows ได้มอบการป้องกันไวรัสชั้นยอดให้กับผู้ใช้ทั่วไป และไฟล์เซิรฟ์เวอร์. NOD32 สำหรับ Windows จะดูแลระบบไฟล์ทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา และสแกนอีเมล์ที่ติดไวรัสก่อนที่เข้ามาในระบบ และยังใช้ Advanced Heuristics ซึ่งทำให้ NOD32 สามารถตรวจจับไวรัสและหยุดการทำงานของไวรัสพวกนั้นก่อนที่จะมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสตัวนั้นออกมา

นโยบายของรัฐบาลชุดใหม่

นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
๑.๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๑.๑.๒ เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
๑.๑.๓ สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน
๑.๒ กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรม ในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด
๑.๓ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริตและถูกต้องชอบธรรม
๑.๔ ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง
๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัย กับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม
๑.๖ เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตาม ข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค
๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
๑.๗.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน
๑.๗.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน
๑.๗.๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต
๑.๗.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม
๑.๘ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค
๑.๘.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน
๑.๘.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี
๑.๘.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท
๑.๘.๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก
๑.๙ ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘
๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย
๑.๑๐.๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท
๑.๑๐.๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท
๑.๑๐.๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
๑.๑๐.๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง
๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลกโดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร
๑.๑๒ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕
๑.๑๓ สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น
๑.๑๓.๑ สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ
๑.๑๓.๒ บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก
๑.๑๔ พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร
๑.๑๕ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียน นำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๕ ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
๑.๑๖ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

การเปิดปิดภาคเรียนต้อนรับอาเซียน

การเปิดปิดภาคเรียนแบบใหม่
"ทปอ." เห็นชอบให้มีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาเปิด-ปิด
ภาคเรียนให้ตรงกับสากล เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคม
อาเซียนในปี 2555
การปิดเทอมของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยนั้น เดิมทีจะอยู่ในช่วง เดือนเมษายน - พฤษภาคม ซึ่งถือเป็นช่วงปิดเทอมใหญ่ และปิดอีกครั้งในเดือนตุลาคม ซึ่งถือเป็นการปิดเทอมย่อย หรือปิดเทอมเล็ก
แต่จากการประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ครั้งล่าสุดที่เพิ่งผ่านพ้นไป ทปอ. ได้มีมติที่จะเลื่อนการเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยทั้งหมดทั่วประเทศ ให้เวลาเปิดและปิดภาคเรียนของประเทศไทยตรงกับประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558ในทางปฏิบัตินั้น จะเลื่อนไปเปิดภาคเรียนแรกในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม แทนที่จะเป็นเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เหมือนที่แล้วๆ มา ส่วนภาคเรียนที่สองก็เป็นช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม แทนของเดิมที่อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม โดยทาง ทปอ. คาดการณ์ไว้ว่าจะเริ่มต้นได้ในปี 2555และแน่นอนว่าการเลื่อนการเปิด-ปิดเทอมของมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ย่อมส่งผลกระทบไปยังหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับระบบอุดมศึกษาไทย หรือมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การจัดการสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การผลิต การจัดเก็บ และการประมวลผลออกมา ค้นหาและทำการเผยแพร่โดยการจัดการสารสนเทศจะต้องจัดให้มีระบบ เกิดการกระจายของสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ
ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศมีผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตในประจำวันของเราทั้งทางการศึกษาและการประกอบอาชีพต่างๆ
ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์กรมีดังนี้คือ
1.ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ
2.ความสำคัญด้านการดำเนินงาน
3.ความสำคัญด้านกฎหมาย
พัฒนาของการจัดการสารสนเทศซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น2ประเภทด้วยกันคือ
การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ เป็น การจัดการสารสนเทสในระบบยุคแรก สื่ออยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์การจัดการสารสนเทศเน้นระบบมือโดยจะทำการรวบรวมรายชื่อหนังสือที่มีการผลิตและเผยแพร่มาทำการจัดเรียงตามขนาดของรูปเล่มหนังสือ
การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์ เป็นการจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์ที่มีพัฒนาการจากอดีตถึงปัจจุบัน
การจัดการสารสนเทศต้องมีขั้นตอนจัดการที่ดีเป็นระบบโดยเริ่มตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการดูแลรักษา

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดบทที่4

1.ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณืที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ3ชนิดแล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1.การบันทึกและการจัดเก็บข้อมูล
-เทปแม่เหล็ก
-จานแม่เหล็ก
-บัตรATM
2.การแสดงผล
-เครื่องพิมพ์
-จอภาพ
-พลอตเตอร์
3. การประมวลผล
-ฮาร์ดแวร์
-ซอฟต์แวร์
-ซีพียู
4. การสื่อสารและเครือข่าย
-โทรทัศน์
-วิทยุกระจายเสียง
-อินเทอร์เน็ต


2.ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องว่างมาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความสัมพันธ์กัน
...2...ซอฟแวร์ประยุกต์
...3...Information Technology
...1...คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลข้อมูล
...4...เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย
...5...ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

1.ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
2.e-Revenue
3.เทคโนโลยีต่างๆที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำและความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วนได้แก่ Sender Medium และ Decoder
5.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 3 รู้สารสนเทศ

1.ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สาสนเทศ
   .ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมินและใช้งานสารสนเทศ
2.จากกระบวนการรู้สารสนเทศทั้ง5ประการประการไหนสำคัญที่สุด
   .ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
   .ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกมส์
4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
   .สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
5.ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
   .5-4-1-2-3

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม

1.ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการต่างๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ3 ราการ
1.1
สาขาการศึกษา - http://www.siit.tu.ac.th/thai/thai.htmlสถาบันการศึกษานานาชาติ ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- http://www.onec.go.th
เว็บไซต์ศูนย์รวมของข่าวสาร ความรู้ด้านการศึกษา นำเสนอข้อมูลทั้งในรูปแบบของตัวอักษร
- http://www.ceted.org/cet_media
ให้บริการสำเนาสื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์และวิทยุ ที่ศูนย์ฯผลิต เป็นวีดิทัศน์ วีซีดี
1.2
วิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน - http://www.bartercard.co.th
- http://www.ustbc.org
- http://www.worldtradeaa.com
1.3
วิชาชีพสื่อมวลชน - http://www.ndwc.or.th/
- http://www.marketinstantly.com
- http://www.thaisnews.com
1.4
วิชาชีพทางอุตสาหกรรม บริษัท เฟสโต้ จำกัด - http://www.festo.comผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ลมที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
- http://www.philipmorrisinternationa
- http://www.marubeni.com

1.5
วิชาชีพทางการแพทย์ -www.innoplast.net
-www.jico.co.th
- http://www.cppluspack.com
1.6
วิชาชีพทหารตำรวจ www.thaithesims3.com
www.dmc.tv
www.gun.in.th

1.7
วิชาชีพวิศวกรรม www.iet.rmuti.ac.th/ie/html/abouIE_c.htm
www.coe.or.th
www.civilclub.net
1.8
วิชาชีด้านเกษตรกรรม www.agkmstou.com
www.thaikasetsart.com
www.thaikasetsart.com
1.9
เกี่ยวกับคนพิการ www.tddf.or.th
www.tddf.or.th
www.braille-cet.in.th
2.
มหาลัยวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้ท่าน มีอะไรบ้างบอกมา 3 อย่าง
-
คอมพิวเตอร์
-
จอโปรเจคเตอร์
-
ทีวี
3.
จากข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าเราจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้นมาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไร
-
ใช้ในการสืบค้นหาข้อมูลและหางานเกี่ยวกับการเรียนและใช้เป็นการเป็นการดูและเป็นสื่อในการเรียนและหาความรู้

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ

1.ข้อมูลหมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังจะเห็นจากกระบวนการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลายพรรคการเมืองมีการใช้เทคโนโลยีรวบรวมข้อมูล หาวิธีการที่จะให้ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว และมื่อสถานการณ์บางอย่างเกิดผันแปรขึ้น การเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงที
2.
ข้อมูลปฐมภูมิคือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรงเป็นสารสนเทศทางวิชาการ
ยกตัวอย่างประกอบ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย สิทธิบัตร
3.
ข้อมูลทุติยภูมิคือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทสปฐมภูมิ
ยกตัวอย่างประกอบ เช่น สื่ออ้างอิงประเภทต่างๆ สารนุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่างๆ
4.
สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่ได้มีการจัดการทางความคิด คำนวณ ประมวลผล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ทันต่อการใช้ังานและทันเวลา
5.
จงอธิบายประเภทสารสนเทศ
จำแนกออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.
ตามแหล่งสารสนเทศ
2.
ตามสื่ออที่จัดเก็บและบันทึก
6.
ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป้นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ สื่ออิเล็กทรอนกส์
7.
ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น ข่าวสารหรือสารสนเทศ
8.
ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น ข้อมูล
9.
ผลของการลงททะเบียนเป็น สารสนเทศ
10.
กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาการจัดการสารสนเทศเทคโนโลยียุคใหม่ในชีวิตประจำวันsectionวันอังคารเป็น ข้อมูล

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความแตกต่างระหว่างการเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย

ความแตกต่าง ระหว่าง โรงเรียน กับ มหาวิทยาลัยคือ
โรงเรียนจะเรียนแบบท่องจำ ทำตามองค์ความรู้ ที่มีผู้หวังดีกำหนดให้มาเพื่อให้สอบผ่าน
มหาวิทยาลัยจะเรียนแบบตั้งคำถาม แสวงหาคำตอบที่หลากหลาย ผลิตวิชาการที่
ไม่ใช่คำตอบสำเร็จรูป  มีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ตอบคำถามใหม่ ๆอยู่ตลอดเวลา มีกิจกรรมวิพากษ์ วิจารณ์องค์ความรู้ เปิดเผย ถอดระหัสองค์ความรู้  และวิธีสอน ก็คือ ใช้ไดอะแลคติค ให้ผู้เรียนค้นคว้าสร้างองค์ความรู้ด้วยความเป็นตัวของตัวเอง ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ พลิกแพลงองค์ความรู้ได้

ดังนั้นสาระของมหาวิทยาลัยจึงไม่ใช่แค่ชื่อ แต่เป็นพฤติกรรมจริง ๆ

สรุปความหมายของการรู้สารสนเทศและกระบวนการรู้สารสนเทศ

การรู้สารสนเทศ(Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ
ความสำคัญ
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ

2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น

3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น

4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ
องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
การรู้สารสนเทศเป็นทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะ และกระบวนการอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนา การเรียนรู้ทุกรูปแบบ สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American Library Association. 2005 : Online) ได้กำหนดองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 4 ประการ คือ

1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องกำหนดเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า กำหนดความต้องการสารสนเทศ ระบุชนิดและรูปแบบที่หลากหลายของแหล่งสารสนเทศที่จะศึกษา เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ บุคคล สถานที่ อินเทอร์เนต เป้นต้น รวมทั้งตระหนักถึงค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่ได้รับ และทราบขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น

2. การเข้าถึงสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม กำหนดกลยุทธ์การค้นคืนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถค้นคืนสารสนเทศออนไลน์หรือสารสนเทศจากบุคคลโดยใช้วิธีการที่หลากหลายสามารถปรับกลยุทธ์การค้นคืนที่เหมาะสมตามความจำเป็น รวมถึงการตัดตอน บันทึก และการจัดการสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ

3. การประเมินสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถสรุปแนวคิดสำคัญจากสารสนเทศที่รวบรวม โดยใช้เกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความทันสมัย สามารถสังเคราะห์แนวคิดหลักเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเพื่อพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่เพิ่มขึ้น อะไรคือสิ่งที่ขัดแย้งกัน และอะไรคือสิ่งที่คล้อยตามกัน

4. ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถใช้สารสนเทศใหม่ผนวกกับสารสนเทศที่มีอยู่ในการวางแผนและสร้างผลงาน หรือการกระทำตามหัวข้อที่กำหนดทบทวนกระบวนการ พัฒนาการผลิตผลงานของตนเอง และสามารถสื่อสารหรือเผยแพร่ผลงานของตนเองต่อบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากความสามารถดังกล่าวแล้ว ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีก ได้แก่
1. การรู้ห้องสมุด (Library literacy)
ผู้เรียนต้องรู้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จักอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆด้วย
2. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)
ผู้เรียนต้องรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ การเชื่อมประสาน และการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์เอกสาร การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรู้ที่ตั้งของแหล่งสารสนเทศ
3. การรู้เครือข่าย (Network Literacy)
ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ
4. การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy)
ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งทีเห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์บุหรี่ และ มีเครื่องหมายกากบาททาบอยู่ด้านบนหมายถึง ห้ามสูบบุหรี่ สัญลักษณ์ผู้หญิงอยู่หน้าห้องน้ำ หมายถึง ห้องน้ำสำหรับสตรี เป็นต้น
5. การรู้สื่อ (Media Literacy)
ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ และ สามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร
6. การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy)
ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจิทัลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมาใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไชต์ เป็นต้น
7. การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy)
ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การค้นสารสนเทศจาก
อินเตอร์เนต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากล และสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ
8. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญมีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา
9. การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic) การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป็นต้องอ้างอิงเจ้าของผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปพรรคการเมือง

1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ  ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด 61 คน ได้แก่

          1.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
          2.ยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
          3.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
          4.เสนาะ เทียนทอง
          5.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
          6.มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
          7.ปลอดประสพ สุรัสวดี
          8.จตุพร พรหมพันธุ์
          9.ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
          10.สุชาติ ธาดาธำรงเวช
          11.พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก
          12.จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
          13.บัณฑูร สุภัควณิช
          14.พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย
          15.สันติ พร้อมพัฒน์
          16.พล.ต.อ.วิรุฬ พื้นแสน
          17.พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
          18.วิรุฬ  เตชะไพบูลย์
          19.เหวง โตจิราการ
          20.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
          21.นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
          22.วัฒนา เมืองสุข
          23. พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา
          24.นิติภูมิ นวรัตน์
          25.นางสาวภูวนิดา คุนผลิน
          26.สุนัย จุลพงศธร
          27.นางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง
          28.คณวัฒน์ วศินสังวร
          29.อัสนี เชิดชัย
          30.นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร
          31.พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย
          32.วิรัช รัตนเศรษฐ 
          33.พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
          34.นภินทร ศรีสรรพางค์
          35.ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
          36.นางวราภรณ์ ตั้งภาภรณ์
          37.นางสาวสุนทรี ชัยวิรัตนะ
          38.นางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร
          39.สมพล เกยุราพันธุ์
          40.นพงศกร อรรณนพพร
          41.นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
          42.นางสาวขัตติยา สวัสดิผล
          43.ธนเทพ ทิมสุวรรณ
          44.นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์
          45.เกียรติชัย ติรณศักดิ์กุล
          46.วิภูแถลง พัฒนภูมิไท
          47.นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ
          48.พายัพ ปั้นเกตุ
          49.นางรังสิมา เจริญศิริ
          50.รองศาสตราจารย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์
          51.กานต์ กัลป์ตินันท์
          52.ธนิก มาสีพิทักษ์
          53.พิชิต ชื่นบาน
          54.ก่อแก้ว พิกุลทอง
          55.นิยม วรปัญญา
          56.นางสาวจารุพรรณ กุลดิลก
          57.อรรถกร ศิริลัทธยากร
          58.เวียง วรเชษฐ์
          59.อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
          60.วิเชียร ขาวขำ
          61.ประวัฒน์ อุตโมท

  พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 44 คน ได้แก่

          1.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
          2.ชวน หลีกภัย
          3.บัญญัติ บรรทัดฐาน
          4.เทอดพงษ์ ไชยนันทน์
          5.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
          6.กรณ์ จาติกวนิช
          7. คุณหญิงกัลยา โสภณพาณิช
          8.อภิรักษ์ โกษะโยธิน
          9.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
          10.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์
          11.นายไพฑูรย์ แก้วทอง
          12.นายอิสสระ สมชัย
          13.นายเจริญ คันธวงศ์
          14.นายอลงกรณ์ พลบุตร
          15.นายอาคม เอ่งฉ้วน
          16.นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
          17.สุทัศน์ เงินหมื่น
          18.องอาจ คล้ามไพบูลย์
          19.พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
          20.วิฑูรย์ นามบุตร
          21.ถวิล ไพรสณฑ์
          22. นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
          23.พ.อ.วินัย สมพงษ์
          24.สุวโรช พะลัง (เสียชีวิต)
          25.ดร.ผุสดี ตามไท
          26.ปัญญวัฒน์ บุญมี
          27.สามารถ ราชพลสิทธิ์
          28.นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์
          29.ภุชงค์ รุ่งโรจน์
          30.นิพนธ์ บุญญามณี
          31.นางอานิก อัมระนันทน์
          32.โกวิทย์ ธารณา
          33.อัศวิน วิภูศิริ
          34.ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
          35.เกียรติ สิทธิอมร
          36. บุญยอด สุขถิ่นไทย
          37.กนก วงษ์ตระหง่าน
          38.พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี
          39.สุกิจ ก้องธรนินทร์
          40.ประกอบ จิรกิติ
          41.พีรยศ ราฮิมมูลา
          42.กษิต ภิรมย์
          43.วีระชัย วีระเมธีกุล
          44. นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
          45.วัชระ เพชรทอง

        หมายเหตุเนื่องจากนายสุวโรช พะลัง ผู้สมัคร ส.ส.ลำดับที่ 24 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน จึงเลื่อนลำดับที่ 45 ขึ้นมาแทน

พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 5 คน ได้แก่

          1.ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
          2.ชัย ชิดชอบ
          3.เรืองศักดิ์ งามสมภาค
          4.นางนาที รัชกิจประการ
          5.ศุภชัย ใจสมุทร

พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

          1.ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
          2.นายชัยวัฒน์ ไกฤกษ์
          3.โปรดปราน โต๊ะราหนี
          4.พงษ์ศักดิ์ เรือนเงิน

พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

          1.ชุมพล ศิลปอาชา
          2.พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
          3.นิติวัฒน์ จันทร์สว่าง
          4.ยุทธพล อังกินันทน์

พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่

          1.ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์
          2.ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

          1.พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

พรรคพลังชล ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

          1.นายสันตศักย์  จรูญงามพิเชษฐ์ 

 พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

          1.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

 พรรคมหาชน ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

          1.นายอภิรัต ศิรินาวิน

พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่

          1.นางพัชรินทร์ มั่นปาน